นอกจากพนักงานประจำที่ต้องเข้าระบบประกันสังคม เป็นผู้ประกัน ม.33 และหากออกจากงานประจำสามารถขึ้นเป็นผู้ประกันตน ม.39 ต่อได้ เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมได้อย่างต่อเนื่องแล้ว
สำหรับ “อาชีพอิสระ” ก็ยังสามารถขึ้นเป็นผู้ประกันตน ม.40 ได้อีกด้วย ซึ่งผู้ประกันตน ม.40 ยังสามารถเลือกเป็นผู้ประกันได้ 3 ทางเลือก โดยจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของเงินสมทบที่ส่งให้กับประกันสังคม และสิทธิประโยชน์ความคุ้มครองที่จะได้รับ คือ
ทางเลือกที่ 1 ส่งเงินสมทบ 70 บาท/เดือน
ทางเลือกที่ 2 ส่งเงินสมทบ 100 บาท/เดือน
ทางเลือกที่ 3 ส่งเงินสมทบ 300 บาท/เดือน
ทั้งนี้ ทางเลือกที่ 2 และทางเลือกที่ 3 มักจะเกิดปัญหาในเรื่องของความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ ไม่ค่อยแน่ชัดว่าเหมือนหรือแตกต่างกันตรงไหนบ้าง
ซึ่งจากข้อมูลที่สำนักงานประกันสังคมได้เปรียบเทียบไว้ในเพจ “สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน / Social Security Office – Ministry of Labour” ให้เห็นแบบชัดๆ ว่าแตกต่างกันอย่างไร และทางเหลือกไหนเหมาะกับคุณ ดังนี้
ทางเลือกที่ 2 ส่งเงินสมทบ 100 บาท/เดือน
ทางเลือกที่ 2 สำหรับผู้ประกันตน ม.40 ที่เลือกส่งเงินสมทบ 100 บาท/เดือน จะได้รับสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองกรณีต่างๆ ดังนี้
1.กรณีประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย
– นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป (ผู้ป่วยใน) ได้รับเงินทดแทน 300 บาท/วัน
– ผู้ป่วยนอก มีใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป ได้รับเงินทดแทน วันละ 200 บาท
– เงื่อนไขการรับสิทธิผู้ป่วยในและนอก หยุดรวมกันไม่เกิน 30 วัน/ปี
– ไปพบแพทย์ (ผู้ป่วยนอก) โดยแพทย์ไม่มีความเห็นให้หยุดพักรักษาตัว หรือแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวไม่เกิน 2 วัน และมีใบรับรองแพทย์มาแสดง รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ครั้งละ 50 บาท (3 ครั้ง/ปี)
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ประชัน 2 รายใหญ่ กองทุนวายุภักษ์ 1 vs ประกันสังคม ถือหุ้นแบงก์มากที่สุด มูลค่ารวม 1.4 แสนล้าน
ประชัน 2 รายใหญ่ กองทุนวายุภักษ์ 1 vs ประกันสังคม ถือหุ้นแบงก์มากที่สุด มูลค่ารวม 1.4 แสนล้าน
26 เม.ย. 2567 | 22:09
ย้ำ!! ผู้ประกันตน ทำฟัน ไม่ต้องสำรองจ่าย
ย้ำ!! ผู้ประกันตน ทำฟัน ไม่ต้องสำรองจ่าย
25 เม.ย. 2567 | 16:51
“ประกันสังคม “เผยยอดจำนวนผู้ประกันตนทั่วประเทศ มีนาคม 24.63 ล้านคน
“ประกันสังคม “เผยยอดจำนวนผู้ประกันตนทั่วประเทศ มีนาคม 24.63 ล้านคน
24 เม.ย. 2567 | 17:00
2.กรณีทุพพลภาพ
ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน เป็นระยะเวลา 15 ปี โดยมีรายละเอียดดังนี้
– จ่ายเงินสมทบ 6 ใน 10 เดือน ก่อนทุพพลภาพ ได้รับ 500 บาท/เดือน
– จ่ายเงินสมทบ 12 ใน 20 เดือน ก่อนทุพพลภาพ ได้รับ 650 บาท/เดือน
– จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 40 เดือน ก่อนทุพพลภาพ ได้รับ 800 บาท/เดือน
– จ่ายเงินสมทบ 36 ใน 60 เดือน ก่อนทุพพลภาพ ได้รับ 1,000 บาท/เดือน
3.กรณีตาย
– ได้รับเงินค่าทำศพ (โดยผู้จัดการศพ) ได้รับ 25,000 บาท
– กรณีจ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนตาย รับเพิ่ม 8,000 บาท
4.กรณีชราภาพ
ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ ตามจำนวนงวดที่จ่ายเงินสมทบพร้อมผลประโยชน์ตอบแทน จากเงินสมทบเดือนละ 50 บาท โดยสามารถจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท
ทางเลือกที่ 3 ส่งเงินสมทบ 300 บาท/เดือน
ทางเลือกที่ 3 สำหรับผู้ประกันตน ม.40 ที่เลือกส่งเงินสมทบ 300 บาท/เดือน จะได้รับสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองกรณีต่างๆ ดังนี้
1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
– นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป (ผู้ป่วยใน) ได้รับเงินทดแทน 300 บาท/วัน
– ผู้ป่วยนอก มีใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป ได้รับเงินทดแทน วันละ 200 บาท
– เงื่อนไขการรับสิทธิผู้ป่วยในและนอก คือ หยุดรวมกันไม่เกิน 90 วัน/ปี
2.กรณีทุพพลภาพ
ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือนตลอดชีวิต โดยมีรายละเอียดดังนี้
– จ่ายเงินสมทบ 6 ใน 10 เดือน ก่อนทุพพลภาพ ได้รับ 500 บาท/เดือน
– จ่ายเงินสมทบ 12 ใน 20 เดือน ก่อนทุพพลภาพ ได้รับ 650 บาท/เดือน
– จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 40 เดือน ก่อนทุพพลภาพ ได้รับ 800 บาท/เดือน
– จ่ายเงินสมทบ 36 ใน 60 เดือน ก่อนทุพพลภาพ ได้รับ 1,000 บาท/เดือน
3.กรณีตาย
ได้รับเงินค่าทำศพ (โดยผู้จัดการศพ) 50,000 บาท
4.กรณีชราภาพ
– ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ ตามจำนวนงวดที่จ่ายเงินสมทบพร้อมผลประโยชน์ตอบแทนจากเงินสมทบเดือนละ 150 บาท
– รับเงินบำเหน็จเพิ่ม 10,000 บาท เมื่อจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือนขึ้นไป โดยสามารถจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท
5.กรณีสงเคราะห์บุตร
ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปีบริบูรณ์ เดือนละ 200 บาท/คน/เดือน (คราวละไม่เกิน 2 คน)
เอกสารที่ต้องใช้ในการได้รับเงินสมทบประจำเดือน
1. แบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (สปส. 1-40) 1 ฉบับ
2. บัตรประจำตัวประชาชน
3. หากต้องการจะชำระเงินสมทบโดยหักจากบัญชีเงินฝากธนาคาร ให้แนบสำเนาหน้าแรกที่มีชื่อและเลขบัญชีของสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
โดยผู้ประกันตน ม.40 ต้องนำส่งเงินสมทบทุกเดือน และสามารถจ่ายเงินสมทบล่วงหน้าได้ 12 เดือน
สรุป
หากใครที่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตน ม.33 , ม.39 และกำลังคิดจะขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตน ม.40 อย่าลืมเลือกความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับให้ดีก่อนตัดสินใจ เลือกให้เหมาะสมและตรงตามความต้องการของตนเอง เพื่อให้ได้รับประโยชน์อย่างคุ้มค่ากับเงินสมทบที่ต้องจ่ายไปทุกเดือน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่ sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ได้ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง