สำนักงานประกันสังคม อัปเดตการจ่ายเงินสมทบประกันสังคม ม.33, ม.39 และ ม.40 ประจำเดือนตุลาคม 2567 ต้องจ่ายเงินเท่าไหร่ รวมรายละเอียดและวิธีคิดไว้แล้วที่นี่
สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ประกาศเงินสมทบประกันสังคม ประจำเดือนตุลาคม 2567 สำหรับผู้ประกันตน มาตรา 33, 39 และ 40 ได้รวบรวมรายละเอียด ตัวอย่างการคิดคำนวณเงินเดือน และสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับในกรณีต่าง ๆ มาให้ครบถ้วน ดังนี้
ประกันสังคมเดือนตุลาคม 2567 ต้องจ่ายกี่บาท
ผู้ประกันตน มาตรา 33
ประกันสังคมสำหรับพนักงานหรือลูกจ้างประจำ ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ที่อยู่ในระบบประกันสังคมมาตรา 33 ต้องจ่ายเงินสมทบเป็นจำนวน 5% ของรายได้ต่อเดือน คิดจากฐานค่าจ้างต่ำสุด 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
นายจ้างและลูกจ้าง จ่ายฝ่ายละ 5% หากใครมีเงินเดือน 15,000 บาทขึ้นไป ต้องจ่ายเงินสมทบ 750 บาทต่อเดือน ทั้งนี้ เมื่อรวมเงินสมทบประกันสังคมที่จ่ายทั้งหมดตลอด 12 เดือน ผู้ที่มีเงินเดือนมากกว่า 15,000 บาท จ่ายเงินสมทบรวมทั้งหมด 9,000 บาท
ตัวอย่างการคิด เงินสมทบประกันสังคม ม.33
พนักงานเงินเดือน 12,000 บาท/เดือน
ผู้ประกันตนจ่าย 12,000 x 5% = 600 บาท
นายจ้างจ่าย 12,000 x 5% = 600 บาท
รัฐบาลจ่าย 12,000 x 2.75% = 330 บาท
ผู้ประกันตน มาตรา 39
ส่วนผู้ประกันตน มาตรา 39 หรือผู้ที่เคยทำงานในบริษัทเอกชน และลาออกมาแล้ว แต่ยังคงรักษาสิทธิประกันสังคมไว้ ต้องจ่ายเงินสมทบเดือนตุลาคม 2567 เป็นจำนวนเงิน 432 บาท
เมื่อรวมจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนมาตรา 39 นำส่งประกันสังคมตลอดปี เป็นวงเงินทั้งสิ้น 5,184 บาท
ตัวอย่างการคิด เงินสมทบประกันสังคม ม.39
ฐานเงินเดือนที่ใช้คำนวณเงินสมทบ คือ 4,800 บาท คิดเป็นอัตราเงินสมทบ 9% (4,800 บาท x 9% = 432 บาท)
ผู้ประกันตน มาตรา 40
สำหรับผู้ประกันตน มาตรา 40 ผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ ฟรีแลนซ์ หรือแรงงานนอกระบบ ที่มีอายุ 15 – 65 ปี โดยต้องไม่เป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ 39 มีวิธีเลือกส่งเงินสมทบทั้งหมด 3 วิธี ดังนี้
ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินในอัตรา 70 บาท/เดือน
สำหรับทางเลือกที่ 1 ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนและคุ้มครองทั้งหมด 3 กรณี ได้แก่ กรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย, ทุพพลภาพ ตาย และเสียชีวิต ทั้งนี้ หากส่งเงินครบ 12 เดือน จะมีเงินสมทบไปทั้งหมด 840 บาท
ทางเลือกที่ 2 จ่าบเงินในอัตรา 100 บาท/เดือน
ส่วนทางเลือกที่ 2 เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนจะได้รับสิทธิรับประโยชน์ 4 กรณี ในกรณีที่ประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย และชราภาพ ถ้าจ่ายครบ 12 เดือน เท่ากับว่าในปี 2566 จะมีเงินนสมทบไปทั้งหมด 1,200 บาท
ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินในอัตรา 300 บาท/เดือน
ทางเลือกสุดท้าย หากผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนจะสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน รวม 5 กรณี กรณีเกิดประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ชราภาพ และสงเคราะห์บุตร และหากส่งเงินครบ 12 เดือน จะมีเงินนสมทบรวมไปทั้งหมด 3,600 บาท