วิธีแก้ไข กลุ่มถูกตัดสิทธิเงินดิจิทัล ผู้สูงอายุที่ไม่มีบัตรคนจนหรือบัตรผู้พิการ และผู้พิการที่ไม่บัตรประจำตัวคนพิการหรือบัตรหมดอายุ ต้องเร่งดำเนินการ ก่อนชวดเงิน 1 หมื่นบาท
โครงการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต กลุ่มคนที่ถูกตัดสิทธิเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท มีทั้งหมด 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้สูงอายุที่ไม่มีบัตรคนจน หรือบัตรคนพิการ และคนพิการที่บัตรประจำตัวคนพิการหมดอายุ หากต้องการรับเงินในโครงการ ต้องรีบดำเนินการก่อนพลาดสิทธิรับเงินในช่วงปลายปี 67
กลุ่มถูกตัดสิทธิ แก้ไขอย่างไร
สำหรับกลุ่มผู้พิการที่ถูกตัดสิทธิรับเงินในช่วงแรก วันที่ 25 – 30 ก.ย. 67 เนื่องจากไม่มีบัตรประจำตัวผู้พิการหรือบัตรหมดอายุต้องดำเนินการและต่ออายุบัตรให้เรียบร้อยก่อนวันที่ 3 ธ.ค. 67 จึงจะได้รับเงิน 10,000 บาทในโครงการ
ส่วนผู้สูงอายุที่ไม่มีบัตรคนพิการหรือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถรับเงินดิจิทัลวอลเล็ตได้โดยลงทะเบียนในรอบผู้ใช้สมาร์ทโฟน ซึ่งปิดลงทะเบียนไปเมื่อวันที่ 15 ก.ย. ที่ผ่านมา หากไม่ได้ลงทะเบียนในรอบนี้ ต้องลงทะเบียนอีกครั้งในรอบกลุ่มผู้ไม่มีสมาร์ทโฟน คาดการณ์ว่าจะเปิดลงทะเบียนในเดือนตุลาคมนี้ โดยใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียว และยื่นลงทะเบียนผ่านสถาบันการเงินของรัฐ ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ทุกสาขาทั่วประเทศ
วิธีลงทะเบียนบัตรประจำตัวคนพิการ
กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ได้ออกประกาศ สำหรับผู้ที่สนใจทำบัตรประจำตัวผู้พิการต้องมีคุณสมบัติ เอกสารประกอบการสมัคร และสถานที่สมัคร ดังนี้
คุณสมบัติของคนพิการที่ยื่นคำขอ
1. เป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทย
2. บุคคลที่ยังไม่ได้แจ้งเกิดหรือบุคคลที่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าสัญชาติไทยต้องดำเนินการตามขั้นตอนตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร์พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) ก่อน
เอกสารประกอบการสมัคร
1. เอกสารหลักฐานของผู้พิการเอกสารประจําตัวอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่
บัตรประจําตัวประชาชน
บัตรประจําตัวข้าราชการ
สูติบัตรสําหรับบุคคลอายุต่ำกว่า15 ปี
2. หนังสือรับรองการเกิดตามแบบที่กรมการปกครองกําหนด
3. ทะเบียนบ้าน
4. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว ไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 2 รูป ในกรณีที่คนพิการไม่ได้มายื่นคำขอด้วยตนเอง
5. เอกสารรับรองความพิการ ซึ่งรับรองโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของสถานพยาบาลของรัฐ หรือสถานพยาบาลเอกชนที่อธิบดีประกาศกําหนด
6. สภาพความพิการเป็นที่เห็นได้ เจ้าหน้าที่ผู้รับคำขอถ่ายสภาพความพิการไว้เป็นหลักฐาน
ขั้นตอนการทำบัตรคนพิการ
1. ยื่นคำร้อง
2. ตรวจสอบหลักฐานและข้อเท็จจริง
3. ถ่ายรูป
4. ตรวจสอบความถูกต้อง
5. จากนั้นได้รับบัตรประจำตัวผู้พิการ
เอกสารหลักฐานของผู้ดูแลคนพิการ
สำหรับผู้ดูแลคนพิการต้องมีคุณสมบัติโดย มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกันกับคนพิการ หรือเป็นผู้ดูแลคนพิการซี่งคนพิการอาศัยอยู่ด้วยตามความเป็นจริง ต้องเตรียมเอกสารประกอบการสมัคร ดังนี้
1. บัตรประชาชนของผู้ดูแลคนพิการ
2. ทะเบียนบ้านของผู้ดูแลคนพิการ
สถานที่ออกบัตรประจำตัวคนพิการ
1. พื้นที่ในกรุงเทพมหานคร
1.1 ศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพมหานคร ณ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
1.2 โรงพยาบาลสิรินธร
1.3 โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
1.4 สถาบันราชานุกูล
1.5 โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
1.6 โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
1.7 ศูนย์บริการคนพิการสายไหม เคหะเอื้ออาทรสายไหม
1.8 สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก)
2. ส่วนภูมิภาค ศูนย์บริการคนพิการทุกจังหวัด และสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด โทร 1300
ขั้นตอนตรวจสอบสิทธิดิจิทัล 10,000 บาท ผ่านแอปฯ รัฐจ่าย
1. เข้าสู่ระบบ โดยกรอกข้อมูลส่วนตัว ได้แก่ เลขบัตรประชาชน และรหัสผ่าน
2. หน้าจอจะปรากฏคำว่า “ตรวจสอบการรับเงินโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ”
3. ระบุเลขบัตรประชาชน 13 หลัก
4. จากนั้น กดเครื่องหมาย “ค้นหา” เพื่อเช็กสิทธิเงินดิจิทัล
ช่องทางดาวน์โหลดแอปฯ “รัฐจ่าย”
ระบบปฏิบัติการ Android ดาวน์โหลดผ่าน Google Play Store
ระบบปฏิบัติการ iOS ดาวน์โหลดผ่าน App Store
ทั้งนี้ แอปพลิเคชั้นรัฐจ่าย อาจมีผู้เข้าใช้งานเป็นจำนวนมากส่งผลให้ระบบขัดข้อง ผู้ใช้งานแก้ไขได้โดยปิดแอปฯ ก่อน จากนั้นเข้าใช้งานใหม่อีกครั้ง
ช่องทางตรวจสอบสิทธิเงินดิจิทัล 10,000 บาท
เว็บไซต์ https://govwelfare.cgd.go.th/welfare/home
เว็บไซต์ https://govwelfare.cgd.go.th
เว็บไซต์ https://govwelfare.dep.go.th/check เฉพาะคนพิการ
แอปพลิเคชัน “รัฐจ่าย” โดยกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง
ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผ่านระบบตอบรับอัตโนมัติ โทร. 0 2109 2345 กด 1 กด 5 ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการและวันนักขัตฤกษ์ 24 ชั่วโมง
ข้อมูลจาก : กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ