เงินดิจิทัล 10,000 บาท ยังคงเป็นประเด็นที่หลายคนให้ความสนใจและติดตามกันมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะร้านค้าที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต เนื่องจากว่าร้านค้าที่เข้าหลักเกณฑ์ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด สามารถขึ้นเงิน หรือถอนเงินสดออกมาได้นั่นเอง
คุณสมบัติร้านค้าที่สามารถถอนเงินสดจากโครงการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท
ต้องเป็นร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษี ดังนี้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax: VAT)
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax: PIT) เฉพาะผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร
ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax: CIT)
เงินดิจิทัล 10,000 บาท ร้านค้าร่วมดิจิทัลวอลเล็ต ขายของได้กี่วันถึงจะได้เงินสด
ประชาชนใช้เงินดิจิทัล 10,000 บาท ซื้อของในร้านค้าสะดวกซื้อ ร้านค้าขนาดเล็กในชุมชนที่ร่วมโครงการในเขตอำเภอตนเอง 878 แห่ง
ร้านค้าขนาดเล็ก ร้านสะดวกซื้อ (คนที่ 1 รับเงินดิจิทัล 10,000 บาท จากผู้ใช้สิทธิมา) แต่ไม่สามารถขึ้นเงินดิจิทัล 10,000 บาทได้ทันที
ร้านค้า (คนที่ 1) ต้องนำเงินดิจิทัล 10,000 บาท ที่ได้จากผู้ใช้สิทธิไปซื้อสินค้าต่อจากพ่อค้าคนที่ 2 ในทุกขนาดร้านค้า
ร้านค้า (คนที่ 3) ที่รับเงินดิจิทัล 10,00 บาท ที่อยู่ในระบบภาษี และภาษีนิติบุคคล นำเงินดิจิทัลที่ได้ทั้งหมดไปขึ้นเงินสดได้
ซึ่งการใช้จ่ายเงินดิจิทัล 10,000 บาท สอดคล้องกับที่นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ระบุไว้ว่า ร้านค้าไม่สามารถกดเงินสดได้ทันทีหลังประชาชนใช้จ่าย แต่ร้านค้าจะสามารถกดเงินสดได้เมื่อมีการใช้จ่ายตั้งแต่ในรอบที่ 2 เป็นต้นไป
ประเภทสินค้าที่สามารถขายในโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท
สินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ข้าวสาร ไข่ไก่ เป็นต้น
เครื่องดื่ม (ไม่มีแอลกอฮอล์) สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก กะปิ น้ำปลา ซอสปรุงรส เป็นต้น
ยารักษาโรค เช่น ยาแก้ไข ยาแก้ท้องเสีย เป็นต้น
ธูปเทียนและเครื่องสักการะ ชุดถวายสังฆทาน เป็นต้น
สินค้าเพื่อการศึกษา เช่น เครื่องแบบนักเรียน เครื่องเขียน สมุด ปากกา ดินสอ เป็นต้น
สินค้าวัตถุดิบเพื่อการเกษตร เช่น ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช เมล็ดพันธุ์พืช เป็นต้น
สินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น ผักสด ผลไม้ อาหารสด เครื่องจักสาน เป็นต้น
สินค้าประเภทไหน ที่ไม่ร่วม “เงินดิจิทัล 10,000 บาท”
สลากกินแบ่งรัฐบาล
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ยาสูบ
กัญชา
กระท่อม
พืชกระท่อม
ผลิตภัณฑ์กัญชา-กระท่อม
บัตรกำนัล
บัตรเงินสด
ทองคำ
เพชร
พลอย
อัญมณี
น้ำมันเชื้อเพลิง
ก๊าซธรรมชาติ
โดยกระทรวงพาณิชย์สามารถพิจารณากำหนด Negative List เพิ่มเติมได้ โดยการใช้จ่ายตามโครงการฯ ไม่รวมถึงบริการ