นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ระบุถึงการ ลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต ว่าร้านค้า รวมถึงผู้ที่มีสิทธิเข้าร่วมโครงการฯ จะต้องมีคุณสมบัติ และเงื่อนไขตรงตามที่กำหนดไว้ดังนี้
คุณสมบัติผู้มีสิทธิรับเงินดิจิทัล 10,000 บาท
1.1 ประชากรที่มีที่อยู่ในทะเบียนบ้าน
1.2 สัญชาติไทย
1.3 มีอายุตั้งแต่ 16 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ณ วันที่ปิดรับลงทะเบียน (15 กันยายน 2567)
1.4 ไม่เป็นผู้มีรายได้เกิน 840,000 บาท สำหรับปีภาษี 2566
1.5 ไม่เป็นผู้ที่มีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจรวมกันเกิน 500,000 บาท
ตรวจสอบข้อมูลเงินฝาก 6 ประเภท ได้แก่
(1) เงินฝากกระแสรายวัน
(2) เงินฝากออมทรัพย์
(3) เงินฝากประจำ
(4) บัตรเงินฝาก
(5) ใบรับเงินฝาก
(6) ผลิตภัณฑ์เงินฝากในชื่อเรียกอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกับข้อ (1) – (5) ฃ
เงินฝากดังกล่าวให้หมายความถึงเฉพาะเงินฝากที่อยู่ในรูปสกุลเงินบาทเท่านั้น และไม่รวมถึงเงินฝากในบัญชีร่วม และเป็นเงินฝาก ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567
1.6 ไม่เป็นผู้ที่อยู่ระหว่างต้องโทษจำคุกในเรือนจำ
1.7 ไม่เป็นผู้ที่ถูกระงับสิทธิหรือถูกเรียกเงินคืนในมาตรการ-โครงการอื่นๆ ของรัฐ
1.8 ไม่เป็นผู้ฝ่าฝืนเงื่อนไขของมาตรการ-โครงการอื่นๆ ของรัฐ
ลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10,000 บาท จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม พร้อมกำหนดวันลงทะเบียนไว้ดังนี้ การลงทะเบียนประชาชนทั่วไป ที่มีสมาร์ทโฟน
วันที่ 1 สิงหาคม – 15 กันยายน 2567
ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” บนสมาร์ทโฟน
ไม่มีการจำกัดจำนวนประชาชนที่จะเข้าร่วมใช้สิทธิ์ในโครงการฯ
ดังนั้น ประชาชนทุกคนที่มาลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการและมีคุณสมบัติครบถ้วน ก็สามารถเข้าร่วมโครงการได้ ซึ่งรัฐบาลได้ประมาณการไว้จำนวน 45 – 50 ล้านคน
การลงทะเบียนประชาชนกลุ่ม ที่ไม่มีสมาร์ทโฟน
ลงทะเบียนและยืนยันตัวตนผ่านช่องทางที่กำหนด วันที่ 16 กันยายน – 15 ตุลาคม 2567
อยู่ระหว่างเตรียมการให้เข้าร่วมโครงการฯ ได้ในระยะต่อไป
มีการตรวจสอบคุณสมบัติ สถานะบุคคล และที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน เช่นเดียวกับกลุ่มผู้มีสมาร์ตโฟน
การใช้จ่ายกำลังพิจารณาให้ใช้จ่ายสิทธิผ่านบัตรประจำตัวประชาชน
การใช้สิทธิซื้อสินค้าจากร้านค้าจะมีความซับซ้อนมากกว่า คนที่มีสมาร์ทโฟน
ดังนั้น การลงทะเบียนผ่านสมาร์ตโฟนจะสามารถใช้งานได้สะดวกกว่า จึงแนะนำให้พยายามลงทะเบียนผ่านทางสมาร์ตโฟนก่อนเป็นอันดับแรก
การลงทะเบียนร้านค้า
วันที่ 1 ตุลาคม 2567
จะมีการแถลงข่าวเพิ่มเติมเพื่อแจ้งเกี่ยวกับคุณสมบัติของร้านค้า ช่องทางและวิธีการสมัครเข้าร่วมโครงการฯ และเงื่อนไขอื่นๆ ให้ทราบต่อไป
การใช้จ่ายเงินดิจิทัล 10,000 บาท
เริ่มใช้จ่ายในไตรมาส 4 ของปี 2567
เงื่อนไขการใช้จ่าย
ประชาชนกับร้านค้า
ประชาชนจะสามารถใช้จ่ายได้กับร้านค้า ขนาดเล็ก รวมถึงร้านสะดวกซื้อขนาดเล็ก โดยไม่รวมห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก-ค้าส่งสินค้าขนาดใหญ่ระดับประเทศและระดับท้องถิ่น และในการซื้อสินค้า หากประชาชนมีที่อยู่ตามทะเบียนบ้านในอำเภอใด ก็ต้องซื้อสินค้าจากร้านค้าในอำเภอเดียวกันเท่านั้น และต้องซื้อขายแบบพบหน้า (Face to Face) ซึ่งคำว่าซื้อขายแบบพบหน้านี้ จะมีการตรวจสอบ
(1) ที่อยู่ของร้านค้าตามที่ลงทะเบียนโครงการฯ
(2) ที่อยู่ของประชาชนตามทะเบียนบ้านในขณะที่ลงทะเบียนโครงการฯ
(3) พิกัดที่อยู่ของประชาชนในขณะที่ใช้จ่ายกับร้านค้าต้องอยู่ในเขตอำเภอเดียวกัน การชำระเงินจึงจะสมบูรณ์
ร้านค้ากับร้านค้า
ร้านค้าทุกประเภทสามารถซื้อขายสินค้าระหว่างกันได้ และไม่มีการกำหนดเงื่อนไขว่าต้องเป็นการซื้อขายแบบพบหน้า (Face to Face) จึงซื้อขายสินค้าระหว่างกันได้แม้จะอยู่ต่างพื้นที่
สินค้าประเภทไหน ที่ไม่ร่วม เงินดิจิทัล 10,000 บาท
สลากกินแบ่งรัฐบาล
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ผลิตภัณฑ์ยาสูบ
กัญชา
กระท่อม
พืชกระท่อม
ผลิตภัณฑ์จากกัญชาและกระท่อม
บัตรกํานัล
บัตรเงินสด
ทองคํา
เพชร
พลอย
อัญมณี
น้ำมันเชื้อเพลิง
ก๊าซธรรมชาติ
เครื่องใช้ไฟฟ้า
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
เครื่องมือสื่อสาร
อย่างไรก็ดี กระทรวงพาณิชย์อาจพิจารณาแก้ไขปรับปรุงรายการสินค้า Negative List เพิ่มเติมได้ ทั้งนี้ การใช้จ่ายภายใต้โครงการฯ จะไม่รวมถึงบริการต่าง ๆ
ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการ นำเสนอรายละเอียดต่างๆ ของโครงการฯ ต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบภายในเดือนกรกฎาคม 2567
ผู้ที่สนใจสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเตรียมการลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ ได้ที่เว็บไซต์ www.digitalwallet.go.th หรือพิมพ์เป็นภาษาไทยว่า www.กระเป๋าเงินดิจิทัล.รัฐบาล.ไทย หรือสามารถสอบถามผ่านศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน (Call Center) สายด่วน โทร. 1111 ซึ่งพร้อมให้บริการและคำแนะนำปรึกษาแก่ประชาชนแล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป