ตรวจสอบ วิธีคำนวณประกันสังคม เงินบำนาญชราภาพ ผู้ประกันตน มาตรา 33 ปลดเกษียณ อายุ 55 ปี ได้เงินบำนาญรวมทุกเดือนกี่บาท
บางคนไม่รู้ว่าไม่ใช่แค่ข้าราชการที่มีเงินบำนาญ เอกชน มนุษย์เงินเดือนก็มี เงินบำนาญ ชราภาพ จากประกันสังคมเช่นเดียวกัน เป็นหนึ่งในสวัสดิการที่ภาครัฐจัดให้เพื่อดูแลผู้สูงอายุในวัยเกษียณ โดยผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 จะมีสิทธิได้รับเงินบำนาญนี้เมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และออกจากงาน หรือสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
ม.33 และ ม.39 ได้เงินบำนาญเดือนละเท่าไหร่? จำนวนเงินบำนาญที่ได้รับจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่คุณจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม โดยแบ่งเป็น 2 กรณีหลัก:
บำนาญชราภาพ (จ่ายรายเดือนตลอดชีวิต)
จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน และมีอายุครบ 55 ปี อได้รับเงินบำนาญ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
จ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน และมีอายุครบ 55 ปี ได้รับเงินบำนาญเพิ่มขึ้นอีก 1.5% ทุกๆ 12 เดือนที่จ่ายเกิน 180 เดือน
ตัวอย่างเงินบำนาญชราภาพที่ผู้ประกันตนที่ได้รับ ตามจำนวนปีที่จ่าย
ส่งเงินสมทบ 15-20 ปี เงินบำนาญที่จะได้รับ 3,000-4,125 บาท
ส่งเงินสมทบ 21-25 ปี เงินบำนาญที่จะได้รับ 4,350-5,250 บาท
ส่งเงินสมทบ 26-30 ปี เงินบำนาญที่จะได้รับ 5,475-6,375 บาท
ส่งเงินสมทบ 31-35 ปี เงินบำนาญที่จะได้รับ 6,600-7,500 บาท
บำเหน็จชราภาพ (จ่ายเป็นเงินก้อน)
จ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน ได้รับเงินเท่ากับเงินสมทบที่จ่ายไป
จ่ายเงินสมทบ 12 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 180 เดือน ได้รับเงินเท่ากับเงินสมทบที่จ่ายไป ทั้งของตนเองและนายจ้าง พร้อมผลตอบแทน
วิธีคำนวณเงินชราภาพ ลาออกมาตรา 33 แล้วสมัคร มาตรา 39
ตัวอย่างการจ่ายมาตรา 33 ครบ 180 เดือน แต่ลาออก แล้วมาต่อมาตรา 39 อีก 60 เดือน
4,800 x 20% = 960 บาท
(60 เดือน / 12) x 1.5% x 4,800 บาท = 360 บาท
รวม 960 + 360 = 1,320 บาท
ตัวอย่างจ่ายเงินประกันสังคมจนเกษียณ
สมมติว่าคุณจ่ายเงินสมทบครบ 240 เดือน (20 ปี) และค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายของคุณคือ 20,000 บาท คุณจะได้รับเงินบำนาญชราภาพดังนี้
เงินบำนาญพื้นฐาน: 20% ของ 20,000 บาท = 4,000 บาท
เงินบำนาญเพิ่มพิเศษ: (240 เดือน – 180 เดือน) / 12 เดือน * 1.5% = 7.5%
เงินบำนาญรวม: 4,000 บาท + (7.5% ของ 4,000 บาท) = 4,300 บาท/เดือน
ผู้ประกันตน มาตรา 33 และ 39 ตรวจสอบสิทธิและเงินชราภาพ สอบถามได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลประกันสังคม หมายเลขโทรศัพท์ 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ หรือที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทั่วประเทศ
วิธีคำนวณ “เงินบำนาญชราภาพ” รวมทุกเดือนเท่าไหร่ พร้อมตัวอย่าง
ยกตัวอย่างกรณี นาย ก ทำงานได้รับเงินค่าจ้างขั้นต่ำ เดือนละ 25,000 บาท มาตลอด นาย ก ส่งเงินสมทบประกันสังคมมาแล้ว 20 ปี และมีมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ มีวิธีคิดเงินบำนาญชราภาพทั้งปี โดยเริ่มจาก
1. สำหรับวิธีการคำนวณจากตัวอย่างของ นาย ก เริ่มแรก ผู้ประกันตนส่งเงินสมทบครบ 180 เดือน หรือ 15 ปี จะได้อัตราเงินบำนาญ 20 เปอร์เซนต์
2. ต่อไปจะเป็นการคิดจำนวนเงิน ในปีที่ 16 – ปีที่ 20 (รวม 5 ปี) จะได้รับอัตราเงินบำนาญ เพิ่มอีกปีละ 1.5 เปอร์เซ็นต์ รวมอัตราเงินบำนาญ 20 ปี จะได้ 20% + 7.5% = 27.5%
3. จึงสรุปได้ว่า นาย ก ซึ่งเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 จะได้รับเงินบำนาญรายเดือน = 27.5% ของ 25,000 บาท เป็นจำนวนเงิน 6,875 บาทต่อเดือนตลอดชีวิต รวมเป็น 82,500 ต่อปี
4. กรณีผู้ประกันตนที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพเสียชีวิตภายใน 5 ปี นับแต่เดือนที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพ ผู้เป็นทายาท จะได้รับสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพตามจำนวนเดือนที่เหลือ (หลังจากผู้รับบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายจนครบ 60 เดือน)